การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตขยายกว้างม

ากขึ้นโดยได้มิได้มีการจํากัดอยู่เพียงด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย

การนําเทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยเท่านั้น

แต่ในยุคของสารสนเทศและการสื่อสาร ICT เช่นปัจจุบัน

ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก

ด้วยคุณสมบัติที่สามารถประมวลผล นําเสนอในแบบสื่อผสม

เป็นเครื่องมือด้านการสื่อสารและด้านความรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้มากมายหลายรูปแบบ

ด้วยเหตุนี้การจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาจึง่มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับ

การพัฒนาในด้านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานทาง

เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทันต่อความต้องการของ

ผู้เรียนในปัจจุบันซึ่งการนําเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในสถานศึกษาได้รับ

การกําหนดเป็นนโยบายระดับชาติ ดังเช่น พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9

เรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามามีส่วนสําคัญใน การพัฒนาที่สถานศึกษาจะต้องให้มีขึ้น

โดยจะเห็นได้จากการจัดสรรงบประมาณและโครงการขึ้นมาเป็นจํานวนมากเพื่อผลักดันในเกิดเป็นจริงภายใน ปี

เป้าหมายของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในสถานศึกษา

การนําระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ

การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ และการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ซึ่งในปัจจุบันการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการนั้นยังมีการให้ความสําคัญไม่เร่งด่วนเท่ากับการใช้งาน เพื่อการ

จัดการเรียนการสอนอันมีเป้าหมายหลักในระยะเริ่มต้น 4 เป้าหมาย ได้แก่

1. มีระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา

2. ระบบ E-Library / E-Learning ภายในสถานศึกษา

3. ระบบสื่อสารภายในสถานศึกษาด้วย E-Mail และเว็บบอร์ด

4. สามารถเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและผลการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาสู่สาธารณะชนได้

เป้าหมายทั้ง 4 เรื่องดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิชาการและการจัดการเรียนการสอนเป็นสําคัญ

แต่ก็ยังเอื้อประโยชน์ต่องานด้านการบริหารจัดการด้วย ในบางส่วน ได้แก่

การเป็นช่องทางในการติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกสถานศึกษา เช่น

การดาวโหลดเอกสารสําคัญจากเขตพื้นที่การศึกษา การสื่อสารด้วยจดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรภายในสถานศึกษา การใช้เป็นช่องทางสื่อสาร เพื่องานชุมชนสัมพันธ์ เป็นต้น

ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมและภารกิจที่จําเป็นดําเนินการทั้งสิ้น

ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สกับการใช้งานในสถานศึกษา

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาระบบสาร

สนเทศภายในสถานศึกษา ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของสถานศึกษา พัฒนาการของเทคโนโลยี

รวมไปถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด หากพิจารณาคุณสมบัติของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สแล้วจะเห็นได้ว่า

มีความเหมาะสมต่อการนํามาใช้ในสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจัยสนับสนุน

1. ด้านคุณสมบัติและเทคโนโลยี

1. มีประสิทธิภาพสูง

เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ประยุกต์ในตระกูลเดียวกันกับระบบปฏิ

บัติการยูนิกซ์ ( Unix ) ซึ่งนิยมใช้งานในระบบขนาดใหญ่

2. มีสถาปัตยกรรมเป็นระบบเปิด ( Open System ) หมายถึง

ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยยึดระเบียบวิธีการที่เป็นมาตรฐานกลาง เช่น

OSI ,POSIX ,ANSI เป็นต้น จึงมั่นใจได้ว่าการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ( Interconnectivity )

จะมีความสะดวกและไม่ยึดติดกับโครงแบบ ( Plateform ) ใดๆ

อันทําให้เกิดปัญหาการผูกขาดทางเทคโนโลยีในอนาคต

3. ปราศจากไวรัส ปัญหาจากไวรัสคอมพิวเตอร์และสิ่งแปลกปลอมทางซอฟต์แวร์ ( Malware )

ที่มุ่งโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ

อันเนื่องมาจากพัฒนาการด้านการสื่อสารและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

โดยเป้าหมายสําคัญของไวรัสมักจะเป็นตัวระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ซึ่งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (

Microsoft Windows ) เป็นระบบที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุดจึงตกเป็นเป้าหมายมากยิ่งขึ้นไปด้วย

ในขณะที่ระบบปฏิบัติการในกลุ่มยูนิกซ์

ลีนุกซ์หรือบีเอสดีได้รับผลกระทบจากไวรัสน้อยมากเนื่องจากระบบการพัฒนาซอฟต์แวร์มีการแก้ไขปรับปรุงและป้อ

งกันได้ดีกว่าและรวดเร็วกว่า

4. สามารถทํางานร่วมกับซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ เช่น Windows

ได้ในระบบเครือข่ายเดียวกันถึงแม้ว่าโครงสร้างของระบบจะมีความแตกต่างกันก็ตามแต่เนื่อง

จากการเชื่อมต่อมีระเบียบวิธีการหลายประการที่ใช้มาตรฐานร่วมกัน ( Standard Protocols )

จึงทําให้สามารถใช้เครื่องลูกข่ายเป็น Windows

ในขณะที่เครื่องแม่ข่ายในระบบสามารถใช้ระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีได้

2. ด้านความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจาก Free Software

อนุญาติให้เผยแพร่และใช้งานได้โดยอิสระจึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หากสถานศึกษาทุกแห่งพยายามใช้ซอฟต์แวร์

ประเภทนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณของชาติได้อย่างมหาศาลและสามารถนํางบประมาณส่วนที่เหลือไปใช้พัฒนางา

นด้านอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้น

2. ใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์อย่างคุ้มค่า

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์สามารถทํางานได้บนเครื่องพีซีที่มีคุณสมบัติทางฮาร์ดแวร์ไม่สูงมากนัก

จึงสามารถทํางานเป็นเครื่องแม่ข่ายได้ดีถึงแม้จะเป็นเครื่องรุ่นเก่าก็ตาม

ทําให้ไม่จําเป็นต้องใช้งบประมาณสูงในการเริ่มต้นใช้งานระบบภายในสถานศึกษา

3. ไม่มีภาระผูกพัน จากนิยามของ Free Software

ทําให้แน่ใจได้ว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้จะยังคงคุณสมบัติด้านเสรีภาพในการใช้งานได้ตลอดไป

เมื่อเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์ ( Commercial Software ) แล้ว

ซอฟต์แวร์หลายตัวที่มีการคิดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการปรับปรุงรุ่นหรือขยาย ระบบซึ่งเป็นภาระที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

3. ด้านความเหมาะสมทางสังคม

ในยุคสังคมแห่งความรู้ ( Knowledge Society ) ความรู้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า

การเคารพสิทธิและรักษาวินัยในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นวั

ฒนธรรมที่ดีงามและสร้างความเจริญให้แก่สังคมโดยรวม การใช้งาน Free Software

จะเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมในการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฏหมาย

สมควรอย่างยิ่งที่สถานศึกษาควรเป็นแบบอย่างแก่สังคม

ปัจจัยอุปสรรค

อุปสรรคที่สําคัญคือ จําเป็นต้องมีการพัฒนาด้านบุคลากร เนื่องจากในปัจจุบันยังมีจํานวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์เสรี

( Free Software ) น้อยมากเมื่อเทียบกับจํานวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพานิชย์

อย่างไรก็ตามหากมีการสนับสนุนให้มีการนํามาใช้งานอย่างจริงจัง

เมื่อมีผู้ใช้ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจะทําให้ชุมชนมีการใช้งานเพิ่มขึ้น

เกิดเครือข่ายผู้ใช้งานที่เข้มแข็งอันจะส่งผลให้อุปสรรคดังกล่าวจะลดลงและหมดไปเอง

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - Blogger Templates - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -